Ireland Westsea Kayaking Lifestyle กฏหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงาน

กฏหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงาน


กฏหมายแรงงาน

การทำงานของเราในแต่ละวันนั้น ต้องใช้พลังกายและพลังใจเป็นอย่างมากเลยก็ว่าได้ครับ ทุกๆ วันต้องรับความเสี่ยงต่างๆ มากมาย ซึ่งท่านทราบกันหรือไม่ครับว่า…ประเทศไทยมีกฏหมายที่คอยคุ้มครองเกี่ยวกับแรงงานกันอยู่ด้วยเช่นกัน วันนี้เราจึงอยากพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “กฏหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงาน” ว่าเป็นอย่างไรกันสักหน่อยครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปชมกันดีกว่าครับผม

ทำความรู้จักกับ กฏหมายแรงงาน

กฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่ากฎหมายแรงงาน คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้างองค์การของนายจ้าง และองค์กรของลูกจ้าง รวมทั้งมาตรการที่กำหนด ให้นายจ้าง ลูกจ้าง และ องค์กรดังกล่าวต้องปฏิบัติต่อกันและรัฐ ทั้งนี้เพื่อให้การจ้างงาน และการใช้งาน การประกอบกิจการ และ ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นไปโดยเหมาะสม ต่างได้รับประโยชน์ตามสมควร มีที่มาจากกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานและสวัสดิการ ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหมวดดังกล่าวนี้ มีทั้ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน, พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์, พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ฯลฯ โดยสามารถแบ่งออกเป็นหลายๆ อย่าง ดังเช่น

●การลาป่วย สำหรับการลาป่วยตามมาตรา 32 นั้นลูกจ้างมีสิทธิลาได้เท่าที่ป่วยจริง ๆ หากป่วยและลาตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ที่เป็นวันทำงานจะต้องแสดงใบรับรองแพทย์ หากในกรณีที่แสดงไม่ได้ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 30 วัน/ปี ตามมาตรา 57 นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 57 นี้จะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท ตามมาตรา 146 ฉะนั้นแล้วในการลาป่วยก็ต้องทำให้ถูกกฎหมายแรงงานด้วย บางกรณีเราก็ยังได้รับค่าจ้างอยู่เหมือนเดิม

●การลากิจ (ธุระอันจำเป็น) การลาแบบนี้เอาไว้ใช้ในการกรณีที่มีเรื่องฉุกเฉินเร่งด่วนจำเป็นจะต้องลา พนักงานก็สามารถใช้สิทธิในการลากิจได้เพื่อไปทำธุระจำเป็น ซึ่งการลากิจไปทำอะไรนั้นก็จะต้องเป็นธุระที่คนอื่นไม่สามารถจะทำแทนได้

●การลาเพื่อคลอดบุตร ตามมาตรา 41 ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรไม่เกิน 98 วัน/ปี ยื่นคำขอเพื่อลาคลอดล่วงหน้าพร้อมใบรับรองแพทย์ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา ไม่เกิน 45 วัน (มาตรา 59) นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 59 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท (มาตรา 146)

หากโดนเลิกจ้างจะได้รับค่าจ้าง?

หากเป็นการเลิกจ้างแบบแจ้งให้ทราบก่อนนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงาน ค่าล่วงเวลาวันหยุดและเงินที่นายจ้างต้องจ่ายตามที่ลูกจ้างมีสิทธิจะได้รับภายในเวลา 3 วัน โดยนับตั้งแต่วันที่เลิกจ้าง แต่ถ้าหากบริษัทจำเป็นต้องหยุดกิจการชั่วครายที่ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย นายจ้างต้องจ่ายเงินแก่พนักงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของค่าจ้างในวันทำงาน ตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน

การเป็นพนักงานที่ดีทำอย่างไรได้บ้าง?

●สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสามารถทางภาษา ต้องวิเคราะห์ข้อมูลเป็น และนำมาใช้ประโยชน์ได้และด้วยความก้าวหน้าในปัจจุบันจะต้องมีความรู้ด้าน IT และเทคโนโลยีดิจิทัล

สามารถการปรับตัวและจัดลำดับความสำคัญได้ มีมนุษยสัมพันธ์ เป็นผู้นำและรู้จักการบริหารจัดการ สุดท้ายต้องไม่ลืมใส่ใจเรื่องมารยาททางสังคมกับคนรอบข้างด้วยครับ เพราะหากเราทำงานดีทำงานเก่ง แต่ไม่มีมารยาทก็จะทำให้การทำงานของเราลำบากขาดการร่วมมือกันเป็นทีมแล้วเราจะเหนื่อยเองครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “กฏหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงาน” ที่เราได้นำมาฝากทุกท่านกันในบทความข้างต้นนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับทุกๆ ท่านกันนะครับ