Ireland Westsea Kayaking Lifestyle 4 สิ่งที่ต้องรู้ เมื่อประสบอุบัติเหตุขณะทำงาน

4 สิ่งที่ต้องรู้ เมื่อประสบอุบัติเหตุขณะทำงาน


กฏหมายความคุ้มครองแรงงาน

หลายๆ ครั้งที่เรามักจะเจอปัญหาหรือพบเห็นการณ์อุบัติเหตุในขณะทำงานต่างๆ เราก็คงจะสงสัยกันหรือปล่าวครับว่าจะมีวิธีการจัดการอย่างไรบ้าง วันนี้เราจะพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “4 สิ่งที่ต้องรู้ เมื่อประสบอุบัติเหตุขณะทำงาน” ที่น่าสนใจกันครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลาเราไปลุยหาคำตอบกันดีกว่าครับ

“การยื่นขอเงินทดแทน” เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทำได้อย่างไร

วิธีการแจ้งการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยพร้อมเอกสารประกอบการยื่นคำขอ นายจ้างหรือผู้รับมอบอำนาจแจ้งตามแบบ กท.16 โดยยื่นเรื่อง ณ สำนักงานประกันสังคมที่ลูกจ้างทำงานอยู่หรือที่นายจ้างมีภูมิลำเนา ซึ่งสามารถส่งเอกสารได้โดยตรงที่สำนักงานประกันสังคมหรือส่งทางไปรษณีย์ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้าง หรือลูกจ้างสามารถยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ประสบอันตรายเจ็บป่วยหรือสูญหาย หรือหากการเจ็บป่วยเกิดหลังสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ให้ยื่นคำร้องภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ทราบการเจ็บป่วย

กฏหมายความคุ้มครองแรงงานเป็นอย่างไร?

กฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่ากฎหมายแรงงาน คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้างองค์การของนายจ้าง และองค์กรของลูกจ้าง รวมทั้งมาตรการที่กำหนด ให้นายจ้าง ลูกจ้าง และ องค์กรดังกล่าวต้องปฏิบัติต่อกันและรัฐ ทั้งนี้เพื่อให้การจ้างงาน และการใช้งาน การประกอบกิจการ และ ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นไปโดยเหมาะสม ต่างได้รับประโยชน์ตามสมควร

4 สิ่งที่ต้องรู้ เมื่อประสบอุบัติเหตุขณะทำงาน

●ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของกฏหมายคุ้มครองแรงงาน เพื่อให้ได้รับประโยชน์อันสูงสุดในทุกๆ ด้านควรมีความรู้พื้นฐานเพื่อไม่ให้เสียเปรียบนั้นเองครับ

●เตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อยื่นต่อประกันสังคม

 1. แบบแจ้งการประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย (กท.16)
2. แบบส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล (กท.44) (กรณีนายจ้างส่งตัวเข้ารับ การรักษาที่สถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน) ต้นฉบับพร้อมสำเนา
3. ใบรับรองแพทย์ (กท.16/1) หรือใบรับรองแพทย์ของสถานพยาบาล
4. การประสบอันตรายที่ไม่ชัดเจน เช่น อุบัติเหตุรถยนต์ เกิดเหตุนอกสถานที่ เป็นต้น ต้องขอหลักฐานเพิ่ม เช่น หลักฐานการลงเวลาทำงาน บันทึกประจำวันตำรวจ แผนที่เกิดเหตุ เป็นต้น
5. ใบเสร็จรับเงิน (กรณีนายจ้าง ลูกจ้างสำรองจ่ายไปก่อน)

6. กรณีเสียชีวิตหรือสูญหายเนื่องจากการทำงาน ต้องมีหลักฐานแสดงการเสียชีวิต ใบชันสูตรศพ ใบมรณบัตรของลูกจ้าง บันทึกประจำวันตำรวจ (ถ้ามี) พร้อมด้วยหลักฐานของ ผู้มีสิทธิ

●ต้องเข้าใจว่าหากโดนเลิกจ้างจะได้รับค่าจ้างชดเชย ซึ่งหากเป็นการเลิกจ้างแบบแจ้งให้ทราบก่อนนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงาน ค่าล่วงเวลาวันหยุดและเงินที่นายจ้างต้องจ่ายตามที่ลูกจ้างมีสิทธิจะได้รับภายในเวลา 3 วัน โดยนับตั้งแต่วันที่เลิกจ้าง แต่ถ้าหากบริษัทจำเป็นต้องหยุดกิจการชั่วครายที่ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย นายจ้างต้องจ่ายเงินแก่พนักงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของค่าจ้างในวันทำงาน ตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความคุ้มครองของประกันสังคม

●กรณีว่างงาน เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนว่างงาน ต้องรายงานตัวเพื่อรับเงินทดแทน
●กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนไปรักษา รักษาฟรีที่สถานพยาบาลที่เลือกไว้
●ถ้าหมอให้หยุดพักเพื่อรักษาตัว ได้เงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน (เฉพาะโรคเรื้อรังปีละไม่เกิน 365 วัน)
●รักษาฟันฟรี ปีละ 900 บาท

นอกจากการดูแลรักษาตนเองและเรื่องการเตรียมหลักฐานเพื่อยื่นขอเงินทดแทนแล้ว ท่านผู้อ่านต้องเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ที่ดีกันนะครับ หวังว่าจะช่วยให้ใช้สิทธิครบกันนะครับ