Ireland Westsea Kayaking Lifestyle ประวัติความเป็นมาของวันหยุดแรงงาน

ประวัติความเป็นมาของวันหยุดแรงงาน


วันแรงงานแห่งชาติ

เคยคิดเอะใจกันบ้างมั้ยครับว่า…วันหยุดประจำปีต่างๆ ของไทยนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไรกันบ้าง โดยเฉพาะกับ “วันหยุดแรงงาน” ที่ 1 พฤษภาคม ของทุกๆ ปี มันมีที่มาที่ไปมาจากเหตุการณ์ใด ใครเป็นผู้เรียกร้อง วันนี้เราจึงอยากพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “ประวัติความเป็นมาของวันหยุดแรงงาน” กันครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น…เราไปชมกันดีกว่าครับผม

ประวัติความเป็นมาของ วันแรงงานแห่งชาติ

วันแรงงานในประเทศไทยถูกกล่าวถึงครั้งแรกในปี พ.ศ. 2475 ซึ่งตรงกับสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ในรัชสมัยรัชกาลที่ 8 และรัฐบาลได้รับรองวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันกรรมกรแห่งชาติในปี พ.ศ. 2499 และได้เปลี่ยนชื่อเป็นวันแรงงานในปี พ.ศ. 2500 อุตสาหกรรมไทยในสมัยก่อนได้เริ่มขยายตัวมากขึ้น ผู้ใช้แรงงานต่างก็มีปัญหาที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งปัญหาแรงงานก็ยังมีความซับซ้อนยากที่จะแก้ไขได้โดยง่าย ทำให้ในปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยได้เริ่มมีการจัดการบริหารแรงงาน โดยเป็นการจัดสรรและพัฒนาแรงงาน ตลอดจนคุ้มครองและดูแลสภาพการทำงานของแรงงาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างรากฐานและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างให้ดีขึ้น ซึ่งในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2499 คณะกรรมการจัดงานที่ระลึกแรงงานได้จัดประชุมขึ้น โดยมีความเห็นตรงกันว่าควรกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม ให้เป็นวันที่ระลึกถึงแรงงานไทย จึงได้มีหนังสือถึงนายรัฐมนตรีขอให้รับรองวันที่ 1 พฤษภาคม ทำให้นับแต่นั้นมา วันที่ 1 พฤษภาคม จึงกลายเป็น วันกรรมกรแห่งชาติ จนต่อมาก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วันแรงงานแห่งชาติ”

กฏหมายแรงงานของไทย

กฎหมายแรงงานของประเทศไทยอยู่ภายใต้กรอบพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาหลายฉบับ กฎหมายหลักได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงแรงงาน กรอบกฎหมายส่วนใหญ่ได้รับการพัฒนาในช่วงกลางถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 พร้อมกับที่เศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วเริ่มตั้งแต่ช่วงสงครามเย็น

แม้กฎหมายคุ้มครองสิทธิในการสมาคมและจัดระเบียบเพื่อต่อรองร่วมกันของผู้ใช้แรงงาน และอนุญาตให้ผู้ใช้แรงงานตั้งสหภาพแรงงานได้ แต่ในทางปฏิบัติ การคุ้มครองดังกล่าวไม่เพียงพอ ทำให้เกิดระบบสหภาพแรงงานที่อ่อนแอโดยทั่วไป กฎหมายยังคุ้มครองเฉพาะผู้ใช้แรงงานในภาคแรงงานอย่างเป็นทางการเท่านั้น และบ่อยครั้งไม่ครอบคลุมถึงประชากรคนงานเข้าเมืองขนาดใหญ่ของประเทศ ซึ่งมีจำนวนมากที่ได้รับว่าจ้างโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย วัตรทาสสมัยใหม่ (modern slavery) ในบางอุตสาหกรรมของประเทศกลายเป็นเป้าสนใจของนานาประเทศในคริสต์ทศวรรษ 2010

สิทธิประโยชน์เกี่ยวกับกฏหมายแรงงานที่ควรรู้

●สิทธิ์ค่ารักษาพยาบาล เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายและต้องเข้ารับบริการทางการแพทย์ ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่ารักษาพยาบาลเป็นจำนวนเงิน เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในจำนวนเงินไม่เกิน 45,000 บาท ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มอีกไม่เกิน 65,000 บาท

●สิทธิ์ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ ในกรณีที่ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยและเมื่อการรักษาพยาบาลสิ้นสุดแล้วแต่สภาพร่างกายหรือจิตใจของลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม

●สิทธิ์ค่าทำศพ เมื่อลูกจ้างประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตายหรือรวมถึงการที่ลูกจ้างสูญหายด้วย ทายาทผู้มิสิทธิ์กรณีนี้คือ ผู้จัดการศพของลูกจ้างซึ่งจะมีสิทธิ์ที่จะได้รับค่าทำศพจำนวน 100 เท่า ของอัตราค่าจ้างรายวันขั้นต่ำ

●สิทธิ์ค่าทดแทน หมายถึง เงินที่จ่ายให้ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิ์สำหรับการประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยหรือสูญหายของลูกจ้างนอกเหนือจากสิทธิ์ได้รับค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน หรือค่าทำศพ โดยค่าทดแทนนี้ลูกจ้างจะได้รับเป็นรายเดือนทุกเดือน ในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือนของลูกจ้าง ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “ประวัติความเป็นมาของวันหยุดแรงงาน” และสิทธิประโยชน์ที่เราควรรู้หวังว่าจะช่วยให้ท่านเข้าถึงสิทธิ์ที่ดีกันนะครับ