Ireland Westsea Kayaking Insurance กฎหมายเบื้องต้นที่ควรรู้เกี่ยวกับเงินชดเชย

กฎหมายเบื้องต้นที่ควรรู้เกี่ยวกับเงินชดเชย


เงินชดเชย

หากจะว่ากันด้วยเรื่องของเงินชดเชยต่างๆ จากค่าประกันหรือการทำสัญญากรมธรรม์ใดๆ ก็แล้วแต่นั้น ล้วนแล้วแต่มีขั้นการดำเนินงานและต้องอาศัยหลักฐานมากมายเพื่อประกอบการรับเงินชดเชยทั้งสิ้น บทความนี้จะขอพาทุกๆ ท่านไปทำความคุ้นเคยและหาความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนในการรับเงินชดเชยจากเหตุการณ์ต่างๆ แบบง่ายๆ กันครับ จะเป็นอย่างไรและมีข้อมูลใดๆ บ้างนั้น เราไปดูกันดีกว่า…

ทำความเข้าใจกับคำว่า เงินชดเชย

เงินชดเชย หรือ เงินชดเชยรายได้ คือ  หลักประกันที่มีทั้งรูปแบบซื้อเพิ่มเวลาทำประกันชีวิต รวมถึงเป็นประกันชดเชยรายได้โดยเฉพาะโดยวัตถุประสงค์ของประกันชดเชยรายได้ก็คือบริษัทรับประกันภัยต้องจ่ายเงินชดเชยรายได้ให้กับผู้เอาประกันภัยตามสัญญาที่ทำกันไว้ โดยจะมาในรูปแบบการจ่ายเงินชดเชยรายได้ที่สูญเสียไปอันเนื่องมาจากต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล ในฐานะผู้ป่วยในและรวมถึงผู้ป่วย เพราะเกิดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วย พูดง่าย ๆ ก็คือแม้คุณจะต้องพักรักษาตัวเนื่องจากเจ็บป่วยแต่ก็ยังไม่สูญเสียรายได้แต่อย่างใดโดยบริษัทประกันภัยจะจ่ายเงินส่วนนี้ให้กับคุณตามแผนความคุ้มครองที่คุณเลือกไว้ คูณกับจำนวนวันที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล

ศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับเรื่องของเงินชดเชย

●ผู้ป่วยใน คือ ผู้ที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลเวชกรรมติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ซึ่งต้องลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยในโดยได้รับการวินิจฉัยและคำแนะนำจากแพทย์ตามข้อบ่งชี้ซึ่งเป็นมาตรฐานทางการแพทย์ และในระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการรักษาการบาดเจ็บนั้น ๆ

●ผู้ป่วยนอก คือ ผู้ป่วยที่รับการรักษาแบบไม่ต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ส่วนมากเป็นการเจ็บป่วยแบบเล็กน้อยและที่ไม่รุนแรง

การประกันภัยเงินทดแทนหรือชดเชยแรงงานอันเนื่องมากจากไม่สามารถทำงานที่ทำกับประกันเป็นอย่างไร?

การประกันภัยเงินทดแทนคนงาน เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองลูกจ้างของผู้เอาประกันภัย โดยผู้เอาประกันภัยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างในระหว่างการจ้างงานสำหรับกรณีการบาดเจ็บทางร่างกาย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ หรือการเจ็บป่วยเป็นโรคซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการปฏิบัติงาน รวมถึงการเสียชีวิตเนื่องจากการทำงาน

นอกจากเงินชดเชยจากการทำประกันแล้ว เรื่องของการลาออกจากงานหล่ะ ได้เงินชดเชยมั้ย?

ข้อมูลจาก : พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มาตรา 118 และมาตรา 17/1 ว่ากันด้วยเรื่องของเงินค่าชดเชยที่นายจ้างจะต้องชดเชย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ และตามกฎหมายลูกจ้างต้องได้รับค่าชดเชย ดังนี้

1. ค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างกรณีทั่วไป (รวมถึงการเลิกจ้าง เพราะสถานการณ์โควิด – 19)

• หากลูกจ้างทำงานมายังไม่ถึง 120 วัน นายจ้างจะไม่จ่ายค่าชดเชยก็ได้

• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 120 วัน – 1 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 30 วัน ในอัตราสุดท้าย

• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 1 – 3 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 90 วัน ในอัตราสุดท้าย

• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 3 – 6 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 180 วัน ในอัตราสุดท้าย

• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 6 – 10 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 240 วัน ในอัตราสุดท้าย

• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 10 – 20 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 300 วัน ในอัตราสุดท้าย

• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 20 ปีขึ้นไป นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 400 วัน ในอัตราสุดท้าย

2. ค่าเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้า

•ค่าเสียหายนี้เกิดในกรณีหากนายจ้าง “ไล่ออก” ทันทีโดยไม่บอกล่วงหน้า ถือว่า นายจ้างทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน นอกจากจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกรณีเลิกจ้างทั่วไป ตามข้อ 1 แล้ว (มาตรา 118) ยังต้องจ่ายค่าเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้าด้วย ตามมาตรา 17/1 เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างในอัตราที่ลูกจ้างได้รับอยู่อัตราสุดท้าย คิดเต็มจำนวนเสมือนหนึ่งว่านายจ้างได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้เตรียมตัวก่อนออกจากงาน แต่ค่าเสียหายจำนวนนี้จะคิดอย่างมากที่สุด ไม่เกินค่าจ้างสามเดือน

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “กฎหมายเบื้องต้นที่ควรรู้เกี่ยวกับเงินชดเชย” ที่เราได้นำมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความนี้ เราหวังว่าจะเป็นประโยชน์กันนะครับ