Ireland Westsea Kayaking Insurance เกิดอุบัติเหตุและไม่ได้ไปทำงาน จะเอาเงินจากไหนมาใช้

เกิดอุบัติเหตุและไม่ได้ไปทำงาน จะเอาเงินจากไหนมาใช้


ประกันสังคม

เคยสังเกตกันหรือไม่ครับว่า…หากมีใครเกิดอุบัติเหตุในช่วงเวลาทำงาน พวกเค้าจะได้รับการคุ้มครองหรือมีประกันส่วนใดมาชดเชยค่าแรงงานในส่วนที่หยุดไปบ้างหรือไม่? วันนี้เราจึงอยากพาทุกๆ ท่านไปหาคำตอบเกี่ยวกับ “เกิดอุบัติเหตุและไม่ได้ไปทำงาน จะเอาเงินจากไหนมาใช้” กันเพื่อเป็นความรู้สำหรับทุกๆ ท่านกันครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปลุยกันดีกว่าครับผม

สิทธิ์ของลูกจ้างที่ควรรู้

กฎหมายกำหนดให้มี “กองทุนเงินทดแทน” ขึ้นในสำนักงานประกันสังคมเพื่อจ่ายเงินทดแทนให้กับลูกจ้างแทนนายจ้าง โดยให้นายจ้างที่มีลูกจ้างทำงานอยู่ในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ยื่นแบบขึ้นทะเบียนนายจ้างเพื่อจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน และเมื่อลูกจ้างประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน กองทุนเงินทดแทนจะเป็นผู้จ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิ์แทนนายจ้าง โดย“เงินทดแทน” หมายความว่า เงินที่จ่ายเป็นค่าทดแทน ค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานและค่าทำศพ…ซึ่งสิทธิ์ในแต่ละประเภทมีสาระสำคัญ อันได้แก่…

●สิทธิ์ค่ารักษาพยาบาล เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายและต้องเข้ารับบริการทางการแพทย์ ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่ารักษาพยาบาลเป็นจำนวนเงิน เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในจำนวนเงินไม่เกิน 45,000 บาท ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มอีกไม่เกิน 65,000 บาท

●สิทธิ์ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ ในกรณีที่ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยและเมื่อการรักษาพยาบาลสิ้นสุดแล้วแต่สภาพร่างกายหรือจิตใจของลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม

●สิทธิ์ค่าทำศพ เมื่อลูกจ้างประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตายหรือรวมถึงการที่ลูกจ้างสูญหายด้วย ทายาทผู้มิสิทธิ์กรณีนี้คือ ผู้จัดการศพของลูกจ้างซึ่งจะมีสิทธิ์ที่จะได้รับค่าทำศพจำนวน 100 เท่า ของอัตราค่าจ้างรายวันขั้นต่ำ

●สิทธิ์ค่าทดแทน หมายถึง เงินที่จ่ายให้ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิ์สำหรับการประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยหรือสูญหายของลูกจ้างนอกเหนือจากสิทธิ์ได้รับค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน หรือค่าทำศพ โดยค่าทดแทนนี้ลูกจ้างจะได้รับเป็นรายเดือนทุกเดือน ในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือนของลูกจ้าง ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

ความคุ้มรองของประกันสังคม

●กรณีว่างงาน เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนว่างงาน ต้องรายงานตัวเพื่อรับเงินทดแทน
●กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนไปรักษา รักษาฟรีที่สถานพยาบาลที่เลือกไว้
●ถ้าหมอให้หยุดพักเพื่อรักษาตัว ได้เงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน (เฉพาะโรคเรื้อรังปีละไม่เกิน 365 วัน)
●รักษาฟันฟรี ปีละ 900 บาท

“การยื่นขอเงินทดแทน” เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทำได้อย่างไร

วิธีการแจ้งการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยพร้อมเอกสารประกอบการยื่นคำขอ นายจ้างหรือผู้รับมอบอำนาจแจ้งตามแบบ กท.16 โดยยื่นเรื่อง ณ สำนักงานประกันสังคมที่ลูกจ้างทำงานอยู่หรือที่นายจ้างมีภูมิลำเนา ซึ่งสามารถส่งเอกสารได้โดยตรงที่สำนักงานประกันสังคมหรือส่งทางไปรษณีย์ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้าง หรือลูกจ้างสามารถยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ประสบอันตรายเจ็บป่วยหรือสูญหาย หรือหากการเจ็บป่วยเกิดหลังสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ให้ยื่นคำร้องภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ทราบการเจ็บป่วย

หลักฐานการแจ้งการประสบอันตรายหรือการขอรับเงินทดแทนทุกกรณี

1. แบบแจ้งการประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย (กท.16)
2. แบบส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล (กท.44) (กรณีนายจ้างส่งตัวเข้ารับ การรักษาที่สถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน) ต้นฉบับพร้อมสำเนา
3. ใบรับรองแพทย์ (กท.16/1) หรือใบรับรองแพทย์ของสถานพยาบาล
4. การประสบอันตรายที่ไม่ชัดเจน เช่น อุบัติเหตุรถยนต์ เกิดเหตุนอกสถานที่ เป็นต้น ต้องขอหลักฐานเพิ่ม เช่น หลักฐานการลงเวลาทำงาน บันทึกประจำวันตำรวจ แผนที่เกิดเหตุ เป็นต้น
5. ใบเสร็จรับเงิน (กรณีนายจ้าง ลูกจ้างสำรองจ่ายไปก่อน)
6. กรณีเสียชีวิตหรือสูญหายเนื่องจากการทำงาน ต้องมีหลักฐานแสดงการเสียชีวิต ใบชันสูตรศพ ใบมรณบัตรของลูกจ้าง บันทึกประจำวันตำรวจ (ถ้ามี) พร้อมด้วยหลักฐานของ ผู้มีสิทธิ

และนี้ก็คือข้อมูลภาพรวมเกี่ยวกับ “เกิดอุบัติเหตุและไม่ได้ไปทำงาน จะเอาเงินจากไหนมาใช้” ที่เราได้รวบรวมมาฝากท่านผู้อ่านกันในบทความข้างต้นนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อยกันนะครับ