Ireland Westsea Kayaking Insurance เงินชดเชยเลิกจ้างคืออะไร และมีสัดส่วนอย่างไรบ้าง

เงินชดเชยเลิกจ้างคืออะไร และมีสัดส่วนอย่างไรบ้าง


เงินชดเชย

ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันที่กำลังเข้าสู่ช่วงขาลงและมีรายจ่ายภาคประชาชนหรือค่าครองชีพสูงขึ้น ส่วนทางกับรายได้ที่ทุกคนพึงมี จึงทำให้หลายๆ บริษัทและพนักงานได้รับผลกระทบ ต้องมีการตัดยอดที่ไม่จำเป็นหรือส่วนงานที่คาดทุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงขององค์กรต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เกิดการ “เลิกจ้างงาน” เป็นจำนวนมาก “เงินชดเชย” จึงเป็นสิ่งที่พนักงานที่ถูกเลิกงานจ้างพึงได้รับ บทความนี้จะพาทุกๆ ท่านไปทำความเข้าใจกับ “เงินชดเชยเลิกจ้างคืออะไร และมีสัดส่วนอย่างไรบ้าง” กันครับ

เงินชดเลยเลิกจ้างเป็นอย่างไร?

เงินชดเลยเลิกจ้าง คือ เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามกรณีต่างๆ นั้นเอง

เงินชดเชยเลิกจ้างแบ่งสัดส่วนเป็นอย่างไรและประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

กรณีที่พนักงาน “ถูกให้ออกจากงาน ลูกจ้างต้องได้รับค่าชดเชย” จะได้เงินค่าชดเชยที่นายจ้างจะต้องชดเชย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ และตามกฎหมายลูกจ้างต้องได้รับค่าชดเชย ตาม พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มาตรา 118 และมาตรา 17/1 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. ค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างกรณีทั่วไป (รวมถึงการเลิกจ้าง เพราะสถานการณ์โควิด – 19)

• หากลูกจ้างทำงานมายังไม่ถึง 120 วัน นายจ้างจะไม่จ่ายค่าชดเชยก็ได้

• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 120 วัน – 1 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 30 วัน ในอัตราสุดท้าย

• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 1 – 3 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 90 วัน ในอัตราสุดท้าย

• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 3 – 6 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 180 วัน ในอัตราสุดท้าย

• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 6 – 10 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 240 วัน ในอัตราสุดท้าย

• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 10 – 20 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 300 วัน ในอัตราสุดท้าย

• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 20 ปีขึ้นไป นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 400 วัน ในอัตราสุดท้าย

2. ค่าเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้า

•ค่าเสียหายนี้เกิดในกรณีหากนายจ้าง “ไล่ออก” ทันทีโดยไม่บอกล่วงหน้า ถือว่า นายจ้างทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน นอกจากจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกรณีเลิกจ้างทั่วไป ตามข้อ 1 แล้ว (มาตรา 118) ยังต้องจ่ายค่าเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้าด้วย ตามมาตรา 17/1 เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างในอัตราที่ลูกจ้างได้รับอยู่อัตราสุดท้าย คิดเต็มจำนวนเสมือนหนึ่งว่านายจ้างได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้เตรียมตัวก่อนออกจากงาน แต่ค่าเสียหายจำนวนนี้จะคิดอย่างมากที่สุด ไม่เกินค่าจ้างสามเดือน

หลักเกณฑ์การเสียภาษีเงินชดเชยที่ท่านควรรู้

เงินชดเชยที่ได้รับจากการเลิกจ้างถือเป็นเงินได้ตามกฎหมาย ดังนั้น ผู้ที่ได้รับเงินชดเชยมีหน้าที่ต้องเสียภาษีด้วย โดยเงินค่าชดเชยที่ไม่เกิน 300,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษี แต่ถ้าหากเงินชดเชยที่ได้รับมากกว่า 300,000 บาท ส่วนที่เกินจะต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 

ซึ่งมีหลักเกณฑ์การยื่นภาษีแยกตามประเภทเงินชดเชยที่ได้รับในกรณีของ “เงินชดเชยจากการเลิกจ้าง” มีดังนี้

– อายุงาน 5 ปีขึ้นไป สำหรับผู้ที่ทำงานครบ 5 ปี หรือมากกว่านั้น เมื่อได้รับเงินชดเชยจากการถูกเลิกจ้าง สามารถเลือกได้ว่าจะนำเงินชดเชยที่ได้มารวมคำนวณภาษีเงินได้ประจำปี หรือจะนำไปแยกคำนวณก็ได้ ซึ่งหากเลือกแยกคำนวณภาษีจะต้องยื่นโดยแนบใบ ภ.ง.ด.90, 91 ทั้งนี้ การไม่นำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่นๆ จะทำให้เสียภาษีน้อยลง ​

– อายุงานไม่ครบ 5 ปี ในกรณีที่ทำงานกับบริษัทที่ได้รับเงินชดเชยยังไม่ครบ 5 ปี (นับตั้งแต่วันเริ่มงานจนถึงวันสิ้นสุดการเป็นพนักงาน) ผู้ที่ได้รับเงินชดเชยจากการเลิกจ้างจะต้องนำเงินที่ได้รับมาทั้งหมด ไปคำนวณภาษีรวมกับรายได้จากงานประจำ และรายได้จากช่องทางอื่นๆ ด้วย (ถ้ามี)

กฎหมายกำหนดว่าผู้ได้รับเงินชดเชยที่ได้รับจากเหตุออกจากงานทั้งหมดไปคำนวณภาษีเป็นรายได้จากงานประจำ (เงินได้ประเภทที่ 1) และต้องคำนวณภาษีรวมกับรายได้ประเภทอื่นๆ ด้วย (ถ้ามี)) โดยไม่สามารถแยกคำนวณเหมือนทำงานครบ 5 ปีได้

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “เงินชดเชยเลิกจ้างคืออะไร และมีสัดส่วนอย่างไรบ้าง” ที่เราได้นำมาฝากท่านผู้อ่านกันในบทความนี้ เราหวังว่าจะช่วยเป็นทางออกให้กับทุกๆ ท่านกันนะครับ