Ireland Westsea Kayaking Insurance พรบ คุ้มครองค่ารักษาจากอุบัติเหตุมีอะไรบ้าง

พรบ คุ้มครองค่ารักษาจากอุบัติเหตุมีอะไรบ้าง


คุ้มครองค่ารักษา

หากว่ากันด้วยเรื่องของการทำประกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำประกันรถยนต์ก็ดี มอเตอร์ไซด์ก็ได้ หรือจะเป็นประกันสุขภาพต่างๆ ซึ่งจุดประสงค์หลักของการทำนั้นก็คือการดูแลและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับเราในอนาคต เพื่อไม่ให้เกิดความลำบากหรือมีค่าใช้จ่ายสูงเกินนั้นเองครับ บทความนี้จะพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “พ.ร.บ. คุ้มครองค่ารักษาจากอุบัติเหตุมีอะไรบ้าง” กันครับ จะมีข้อมูลใดบ้างนั้น เราไปดูกันดีกว่าครับ

... คืออะไร?

พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติ ซึ่ง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จะเป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจะต้องทำและมีไว้เป็นหลักประกันให้กับคนในรถทุกคัน หรือผู้ที่ใช้รถใช้ถนนว่าจะได้รับสิทธิความคุ้มครองจากเงินกองกลางที่รถทุกคันได้ทำ พ.ร.บ. ว่า จะได้รับความคุ้มครอง/เงินค่ารักษาพยาบาลจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือการประสบภัยจากรถในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงทีนั้นเอง

พ.ร.บ. คุ้มครองอะไรบ้าง?

พ.ร.บ. หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จะคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น ซึ่งสามารถเคลมได้ทันที ไม่จำเป็นต้องรอพิสูจน์ความผิดซึ่งสามารถแบ่งเป็นข้อๆ ให้เข้าใจดังนี้

• ในกรณี บาดเจ็บ จากอุบัติเหตุจากการขับขี่รถยนต์ พ.ร.บ. จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน

• ในกรณี สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร หรือพิการ หลังเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่รถยนต์ จะสามารถเคลมค่าเสียหายได้เช่นกัน ซึ่ง พ.ร.บ. จะจ่ายค่าเสียหายในเบื้องต้นได้ไม่เกิน 35,000 บาทต่อคน

• ในกรณี เสียชีวิตทันที หลังเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่รถยนต์ จะได้รับเงินค่าปลงศพจำนวน 35,000 บาทต่อคน

• ในกรณี สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร พิการ หรือเสียชีวิต หลังการรักษาพยาบาล จะได้รับเงินเพิ่มเติมจากค่ารักษาพยาบาลในส่วนแรก ซึ่งรวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน

นอกจากนี้ยังมีในส่วนของ “ค่าสินไหมทดแทน หรือ ค่าเสียหายส่วนเกิน ซึ่งเป็นเงินชดเชยที่จะจ่ายหลังจากที่ได้พิสูจน์ความผิดเรียบร้อยแล้ว โดยฝ่ายที่กระทำผิดจะเป็นคนชดใช้ค่าเสียหายให้กับอีกฝ่ายนึง

• ในกรณี บาดเจ็บ จะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริงสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท

• ในกรณี เสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง จะต้องจ่ายชดเชย 500,000 บาทต่อคน

• ในกรณี ทุพพลภาพถาวร จะต้องจ่ายชดเชย 300,000 บาทต่อคน

• ในกรณี สูญเสียอวัยวะ จะมีรายละเอียดดังนี้

  – สูญเสียนิ้ว (ตั้งแต่ข้อนิ้วขึ้นไป นิ้วเดียว หรือหลายนิ้ว) จะต้องจ่ายชดเชย 200,000 บาทต่อคน

  – สูญเสียอวัยวะในร่างกาย 1 ส่วน (มือตั้งแต่ข้อมือ เท้าตั้งแต่ข้อเท้า แขน ขา สายตา หูหนวก เสียความสามารถในการพูด จิตพิการอย่างติดตัว หรือสูญเสียอวัยวะอื่นใด) จะต้องจ่ายชดเชย 250,000 บาทต่อคน

  – สูญเสียอวัยวะในร่างกาย 2 ส่วน (มือตั้งแต่ข้อมือ เท้าตั้งแต่ข้อเท้า แขน ขา สายตา หูหนวก เสียความสามารถในการพูด จิตพิการอย่างติดตัว หรือสูญเสียอวัยวะอื่นใด) จะต้องจ่ายชดเชย 500,000 บาทต่อคน

• ค่าชดเชยในกรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลเป็น ผู้ป่วยใน จำนวน 200 บาทต่อวัน รวมกันไม่เกิน 20 วัน สูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท

แล้วประกันรถยนต์ที่เค้าเรียกกันว่า ประกันชั้น 1 2 3 เหล่านี้ แตกต่างหรือมีคุ้มครองอย่างไรบ้าง?

ประกันรถ ที่รู้จักกันในชื่อ ประกันชั้น 1, 2, 3, 2+ หรือ 3 จัดเป็นประกัน “ภาคสมัครใจ” ซึ่งจะเป็นการซื้อประกันเพิ่มเติมจากความคุ้มครองที่ได้รับจาก พ.ร.บ. ซึ่งในกรณีที่เราเป็นต้นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน พ.ร.บ. จะช่วยคุ้มครองเท่าที่กฎหมายกำหนด แต่ถ้าความเสียหายมีมาก ผู้ที่ทำให้เกิดความเสียหาย จะเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายเอง ซึ่งประกันภาคสมัครใจ จะเข้ามาช่วยรับผิดชอบในกรณีเหล่านี้

ประกันชั้น 1 จะให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากที่สุด คือ จะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลในรถ และบุคคลภายนอก รวมถึงความเสียภายที่เกิดขึ้นต่อรถยนต์ที่เอาประกันภัย รวมถึงกรณีเกิดไฟไหม้และการสูญหายด้วย

ประกันชั้น 2 จะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลในรถ และบุคคลภายนอก รวมถึงความเสียหายที่เกิดกับรถยนต์จากการเกิดไฟไหม้และการสูญหาย

ประกันชั้น 3 จะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอก และความเสียหายที่เกิดกับรถยนต์จากการเกิดไฟไหม้และการสูญหาย

ประกันชั้น 2+ จะรับผิดชอบต่อความเสียหายในกรณีเดียวกับประกันชั้น 2 แต่เพิ่มความรับผิดต่อในส่วนของความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย แต่เฉพาะกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และจำเป็นต้องมีคู่กรณีด้วย

ประกันชั้น 3+ จะรับผิดชอบต่อความเสียหายในกรณีเดียวกับประกันชั้น 3 แต่คุ้มครองรถยนต์คันเอาประกันภัยในวงเงินจำกัด และเฉพาะกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “พ.ร.บ. คุ้มครองค่ารักษาจากอุบัติเหตุมีอะไรบ้าง” ที่เราได้หามากฝากท่านผู้อ่านกันในบทความนี้ครับ หวังว่าจะช่วยให้ทุกๆ ท่านเข้าใจมากขึ้นนะครับ